วันอาทิตย์ที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

คู่มือเตรียมสอบ

ศูนย์หนังสือเตรียมสอบงานราชการ ทุกหน่วยงาน
เนื้อหาออกตามประกาศของหน่วยงาน 
รวมทั้งข้อสอบเก่าและอัพเดทปรับปรุงเป็นปัจจุบัน
รวบรวมไว้ทั้งวิชาทั่วไปและวิชาเฉพาะตำแหน่ง
ไว้ในเล่มเดียว ตรงถึง 70-80% 
+ผลงานลูกค้า+
http://www.topsheetonline.com/webboard/viewtopic/75




#สนใจสั่งซื้อมาที่>>> โทร 090-8134236 ,   Line :topsheet1
-แบบไฟล์ PDF (ส่งทางเมลล์)สามารถนำไปปริ้นอ่านได้เลย ในราคาเพียงชุดละ 399 บาท
-แบบหนังสือ+MP3 ส่งEMS (ทางไปรษณีย์) เป็นหนังสือ ราคา 799 บาท
**โปรดระวังพวกซื้อไปขายต่อ ข้อมูลจะไม่อัพเดท**
กรุณาชำระค่าสินค้าและบริการ
เลขที่บัญชี 619-2-17391-2 ธ.กสิกรไทย
สาขา บิ๊กซี พระรามที่ 2 ประเภท ออมทรัพย์ ชื่อบัญชี กฤษฎาพร เหมวันต์     
โอนเงินแล้วแจ้งที่ 
Line ID : topsheet1
E-mail :topsheet1@gmail.com
##ติดตามแนวข้อสอบงานราชการ รัฐวิสาหกิจ ทุกหน่วยงานเพิ่มที่     http://topsheet1.blogspot.com/

                                



ผลงานลูกค้า

เปิดสอบ ราชการ งานราชการ หางาน สอบราชการ พนักงานราชการ สอบบรรจุ หางาน รับสมัครงาน สอบ กพ. อบต. สอบภาค ก สอบภาค ข รับสมัครงาน ศูนย์รวมงานราชการ
ศูนย์หนังสือสอบ sheetbook เป็นที่รวบรวมแนวข้อสอบรับราชการ ทุกหน่วยงาน และนี่คือผลงาน ความคิดเห็นของลูกค้าที่ซื้อข้อสอบจากเราไป บางส่วน



















1
2
3
4
5
6
7
8



ติดตาม Facebook

ติดตาม Facebook

Youtube

แนวข้อสอบกรมคุมประพฤติ




รายละเอียดวิชาที่สอบ #
แนวข้อสอบกรมคุมประพฤติ
พนักงานควบคุม กรมคุมประพฤติ
1 ความรู้เกี่ยวกับกรมคุมประพฤติ
2 แนวข้อสอบเกี่ยวกับกรมคุมประพฤติ
3 อาชญาวิทยาและทัณฑวิทยา
4 แนวข้อสอบอาชญาวิทยาและทัณฑวิทยา
5 หลักการปฏิบัติต่อผู้ต้องขัง
7 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับกฎหมายและ กระบวนการยุติธรรม
8 แนวข้อสอบ พรบ.วิธีการดำเนินการคุมความประพฤติตามประมวลกฎหมายอาญา พ.ส.2522 และแก้ไขเพิ่มเติม
9 พรบ.ฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด พ.ศ.2545
10 แนวข้อสอบ พรบ.ฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด พ.ศ.2545
11 ความรู้เกี่ยวกับอาสาสมัครคุมประพฤติ
12 ความรู้ด้านงานคุมประพฤติ
13 แนวข้อสอบระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยพนักงานราชการ พ.ศ.2547
13 แนวข้อสอบระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยพนักงานราชการ พ.ศ.2547

#สนใจสั่งซื้อมาที่>>> โทร 090-8134236 ,   Line :topsheet1
-แบบไฟล์ PDF (ส่งทางเมลล์)สามารถนำไปปริ้นอ่านได้เลย ในราคาเพียงชุดละ 399 บาท
-แบบหนังสือ+MP3 ส่งEMS (ทางไปรษณีย์) เป็นหนังสือ ราคา 799 บาท
**โปรดระวังพวกซื้อไปขายต่อ ข้อมูลจะไม่อัพเดท**
กรุณาชำระค่าสินค้าและบริการ
เลขที่บัญชี 619-2-17391-2 ธ.กสิกรไทย
สาขา บิ๊กซี พระรามที่ 2 ประเภท ออมทรัพย์ ชื่อบัญชี กฤษฎาพร เหมวันต์     
โอนเงินแล้วแจ้งที่ 
Line ID : topsheet1
E-mail :topsheet1@gmail.com

##ติดตามแนวข้อสอบงานราชการ รัฐวิสาหกิจ ทุกหน่วยงานเพิ่มที่ http://topsheet1.blogspot.com/

                          


แนวข้อสอบ



##รวบรวมแนวข้อสอบทั้งเก่าและใหม่ที่ออกบ่อยๆพร้อมเฉลยแบบอธิบายไว้ในเล่มเดียว 200-220 หน้า
##เก็งและสรุปแนวข้อสอบมีเนื้อหาความรู้ทั่วไปและเฉพาะตำแหน่งที่สอบให้
##อ่านเข้าใจง่าย ครบ แน่น ตรงประเด็น เหมาะสำหรับคนที่ไมมีเวลาอ่านหนังสือเตรียมตัวน้อย
##รวบรวมและจัดทำขึ้นโดยคณะอาจารย์และรุ่นพี่ที่สอบได้จากสนามจริง การันตีคุณภาพ


แนวข้อสอบพนักงานควบคุมประพฤติปฏิบัติการ กรมคุมประพฤติ
1 ความรู้เกี่ยวกับกรมคุมประพฤติ
2 แนวข้อสอบเกี่ยวกับกรมคุมประพฤติ
3 อาชญาวิทยาและทัณฑวิทยา
4 แนวข้อสอบอาชญาวิทยาและทัณฑวิทยา
5 หลักการปฏิบัติต่อผู้ต้องขัง
7 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับกฎหมายและ กระบวนการยุติธรรม
8 แนวข้อสอบ พรบ.วิธีการดำเนินการคุมความประพฤติตามประมวลกฎหมายอาญา พ.ส.2522 และแก้ไขเพิ่มเติม
9 พรบ.ฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด พ.ศ.2545
10 แนวข้อสอบ พรบ.ฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด พ.ศ.2545
11 ความรู้เกี่ยวกับอาสาสมัครคุมประพฤติ
12 ความรู้ด้านงานคุมประพฤติ
13 แนวข้อสอบระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยพนักงานราชการ พ.ศ.2547
13 แนวข้อสอบระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยพนักงานราชการ พ.ศ.2547

แนวข้อสอบเจ้าพนักงานธุรการ กรมคุมประพฤติ1. ความรู้เกี่ยวกับกรมคุมประพฤติ
2. แนวข้อสอบเกี่ยวกับกรมคุมประพฤติ
3. ความรู้เกี่ยวกับงานสารบรรณและธุรการทั่วไป
4. สรุปสาระสำคัญระเบียบงานสารบรรณ (สูตรและเทคนิคการจำ)
5. แนวข้อสอบกฎหมายระเบียบงานสารบรรณ ชุด1
6. แนวข้อสอบกฎหมายระเบียบงานสารบรรณ ชุด2
7. แนวข้อสอบการใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำนักงาน
8. แนวข้อสอบความรู้งานธุรการ
9. การเตรียมตัวสอบภาค ค. และสอบสัมภาษณ์เข้าทำงานกรมคุมประพฤติ


+ผลงานลูกค้า+
http://topsheet1.blogspot.com/2016/08/blog-post.html

#สนใจสั่งซื้อมาที่>>> โทร 090-8134236 ,   Line :topsheet1
-แบบไฟล์ PDF (ส่งทางเมลล์)สามารถนำไปปริ้นอ่านได้เลย ในราคาเพียงชุดละ 399 บาท
-แบบหนังสือ+MP3 ส่งEMS (ทางไปรษณีย์) เป็นหนังสือ ราคา 799 บาท
**โปรดระวังพวกซื้อไปขายต่อ ข้อมูลจะไม่อัพเดท**
กรุณาชำระค่าสินค้าและบริการ
เลขที่บัญชี 619-2-17391-2 ธ.กสิกรไทย
สาขา บิ๊กซี พระรามที่ 2 ประเภท ออมทรัพย์ ชื่อบัญชี กฤษฎาพร เหมวันต์     
โอนเงินแล้วแจ้งที่ 
Line ID : topsheet1
E-mail :topsheet1@gmail.com

##ติดตามแนวข้อสอบงานราชการ รัฐวิสาหกิจ ทุกหน่วยงานเพิ่มที่ http://topsheet1.blogspot.com/

        




    

ความรู้ทั่วไป

กรมคุมประพฤติ กระทรวงยุติธรรม
หน้าที่และความรับผิดชอบของกรมคุมประพฤติกรมคุมประพฤติ กระทรวงยุติธรรม มีอำนาจหน้าที่ต่อไปนี้
    1. ส่งเสริมสนับสนุนเกี่ยวกับการดำเนินการแก้ไขฟื้นฟูและสงเคราะห์ผู้กระทำผิด ตามกฎหมายว่าด้วยวิธีดำเนินการคุมความประพฤติ ตามประมวลกฎหมายอาญา พ.ศ.2522
    2. พัฒนาระบบ รูปแบบ และวิธีการควบคุมความประพฤติผู้กระทำความผิดที่เป็นผู้ใหญ่ จัดทำและประสานแผนงานของกรมให้สอดคล้องกับนโยบายและแผนแม่บทของกระทรวง รวมทั้งเร่งรัดและติดตามและประเมินผลการปฏิบัติงานของหน่วยงานในสังกัด
    3. ปฏิบัติราชการอื่นใดตามที่กฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของกรมหรือตามที่กระทรวง หรือ คณะรัฐมนตรีมอบหมาย
งานคุมประพฤติ (PROBATION)
          การคุมประพฤติในที่นี้ เป็นมาตรการในการปฏิบัติต่อผู้กระทำผิดที่เป็นผู้ใหญ่ในชุมชน โดยยึดหลักอาชญาวิทยาและทัณฑวิทยาแนวใหม่ ซึ่งเน้นการปฏิบัติต่อผู้กระทำผิดเป็นรายบุคคล นอกจากนี้ยังเป็นการเปลี่ยนแนวความคิดจากวิธีการลงโทษมาเป็นวิธีการแก้ไขบำบัดและจากการลงโทษจำคุกเป็นวิธีการเสี่ยงการจำคุก โดยเฉพาะอย่างยิ่งการให้ชุมชน เข้ามามีส่วนร่วมและรับผิดชอบในการป้องกันอาชญากรรมและการแก้ไขฟื้นฟูผู้กระทำผิด
          การคุมประพฤติมีวิวัฒนาการมาจากประเทศสหรัฐอเมริกา เมื่อ พ.ศ.2384 (ค.ศ.1841) โดยช่างทำรองเท้า ชื่อนายจอห์น ออกัสตัส ได้ขออนุญาติศาลประกันตัวชายขี้เมาคนหนึ่งซึ่งถูกจับกุมและต้องถูกคุมขัง โดยนายจอห์นรับว่าจะพาชายคนนั้นมาพบศาลตามกำหนดนัด และเมื่อถึงกำหนดนัดนายจอห์นได้พาชายผู้นั้นมาพบศาล ในลักษณะที่สามารถเลิกดื่มสุราได้ ศาลจึงเพียงปรับและปล่อยตัวไป จากนั้นนายจอห์นได้ใช้วิธีการดังกล่าว ประกันตัวผู้กระทำผิดออกไปเพื่อควบคุมดูแลให้ทำงาน ฝึกวิชาชีพ หรือเรียนหนังสือ ตามความเหมาะสมเป็นราย ๆ ไป ซึ่งวิธีการดังกล่าวได้แพร่หลายและได้มีการพัฒนาแนวความคิดตลอดจนกฎหมายเกี่ยวกับการคุมประพฤติมาเป็นลำดับ จนกระทั่งวิธีการคุมความประพฤติได้รับการนำไปใช้อย่างแพร่หลายทั่วโลก
          งานคุมประพฤติจึงเป็นงานสำคัญในกระบวนการยุติธรรมทางอาญาอยู่ในขั้นตอนก่อนและหลังการพิพากษาคดีของศาล โดยมีพนักงานคุมประพฤติ (Probation Officer) เป็นผู้สืบเสาะข้อเท็จจริงเกี่ยวกับจำเลย ก่อนศาลจะพิพากษาคดี เรียกว่า การสืบเสาะพินิจ (Presentence Investiqation)  และภายหลังที่ศาลพิพากษาคดีแล้ว อาจใช้วิธี การควบคุมและสอดส่อง (Supervision) โดยพนักงานคุมประพฤติจะทำหน้าที่ ในการให้คำแนะนำ ช่วยเหลือผู้กระทำผิดนั้น ๆ โดยมีการนำทรัพยากรในชุมชนเข้ามาช่วยเหลือเรียกว่า งานกิจกรรมชุมชน (Community Affairs) โดยมุ่งหวังให้ผู้กระทำผิดได้กลับตนเป็นคนดีและกลับคืนสู่ชุมชนอย่างมีคุณค่าตลอดไป
    งานสืบเสาะและพินิจ (Presentence Investigation)  หมายถึงกระบวนการแสวงหาข้อเท็จจริงเกี่ยวกับประวัติและภูมิหลังทางสังคมของจำเลยตลอดจนพฤติการณ์ในคดีก่อนการพิจารณาพิพากษาคดี โดยพนักงานคุมประพฤติเป็นผู้ดำเนินการตามคำสั่งศาล แล้วนำข้อเท็จจริงที่ได้มาประมวล วิเคราะห์ และทำรายงานเสนอต่อศาล พร้อมทำความเห็นและข้อเสนอแนะว่า วิธีการใดจึงจะเหมาะสมกับจำเลยรายนั้น เพื่อศาลจะได้ใช้ประกอบดุลยพินิจในการพิพากษาซึ่งจะเป็นการพิจารณาเป็นรายบุคคลไป
        วัตถุประสงค์ของงานสืบเสาะและพินิจ
1. เพื่อเสนอข้อเท็จจริงและความเห็นเกี่ยวกับจำเลยต่อศาลในการใช้ดุลยพินิจในการกำหนดโทษ หรือการปฏิบัติที่เหมาะสมกับจำเลยเป็นรายบุคคล
2. เพื่อกลั่นกรองผู้กระทำผิดที่เหมาะสมเข้าสู่กระบวนการคุมความประพฤติ (การควบคุมและสอดส่อง) โดยคำนึงถึงความปลอดภัยของสังคมและแนวโน้มในการแก้ไขปรับปรุงตนเองในชุมชนของจำเลยเป็นหลัก
3. เพื่อประโยชน์ในการวางแผนแก้ไขฟื้นฟูผู้กระทำผิดที่ศาลมีคำพิพากษาให้รอการกำหนดโทษ หรือรอการลงโทษและกำหนดเงื่อนไขเพื่อคุมความประพฤติไว้
งานควบคุมและสอดส่อง เป็นกระบวนการภายหลังจากศาลใช้ดุลยพินิจในการพิพากษาผู้กระทำผิดแล้วว่า บุคคลนั้นยังไม่สมควรได้รับโทษจำคุก จึงให้รอการกำหนดโทษ หรือรอการลงโทษไว้ก่อน โดยมีการกำหนดเงื่อนไขคุมความประพฤติ และให้พนักงานคุมประพฤติเป็นผู้ควบคุมดูแลแนะนำช่วยเหลือหรือตักเตือนในเรื่องความประพฤติ การศึกษา การประกอบอาชีพ หรือเรื่องอื่น ๆ ด้วยวิธีการแก้ไขฟื้นฟูเป็นรายบุคคลตามความเหมาะสมเช่นการให้คำปรึกษาแนะนำตามหลักจิตวิทยาการบำบัดรักษาทางการแพทย์ การให้การศึกษา การฝึกอาชีพ การอบรมศีลธรรม ตลอดจนการให้การสงเคราะห์ในด้านต่าง ๆ ดังนั้น จึงสามารถพิจารณาลักษณะของงานควบคุมและสอดส่องเป็น 2 ลักษณะดังนี้
1.     ด้านกฎหมาย เป็นการใช้อำนาจตามกฎหมายโดยมีพนักงานคุมประพฤติคอยควบคุมมิให้ผู้ถูกคุมความประพฤติละเมิดเงื่อนไขของศาลหรือกระทำผิดขึ้นใหม่
2.     ด้านสังคมจิตวิทยา  เป็นการแก้ไขบำบัดผู้กระทำผิดที่มิใช่อาชญากรโดยนิสัย ให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทัศนคติและพฤติกรรมให้อยู่ในบรรทัดฐานของสังคม โดยพนักงานคุมประพฤติจะคอยดูแลสอดส่องช่วยเหลือด้วยวิธีการต่าง ๆ โดยใช้หลักจิตวิทยาและสังคมสงเคราะห์ เป็นแนวทางในการปฏิบัติ

    งานกิจกรรมชุมชน (COMMUNITY AFFAIRS)
        งานกิจกรรมชุมชน หมายถึง ขั้นตอนและกระบวนการทางเทคนิค ที่พนักงานคุมประพฤตินำมาใช้ดำเนินการแก้ไขฟื้นฟูผู้กระทำผิด โดยเฉพาะกับผู้ถูกคุมความประพฤติ ในช่วงระยะเวลาที่อยู่ระหว่างการคุมความประพฤติโดยใช้เทคนิคทางจิตวิทยา การศึกษา จริยศาสตร์ สังคมสงเคราะห์ กฎหมาย และวิธีการอื่น ๆ เข้ามาดำเนินการแก้ไขฟื้นฟูพฤติกรรมและจิตใจ ตลอดจนการให้การสงเคราะห์ช่วยเหลือตามความเหมาะสมเป็นรายบุคคลเป็นระยะ ๆ โดยใช้ทรัพยากรชุมชนอันได้แก่ สถาบันต่าง ๆ และองค์กรสาธารณกุศาล ให้เข้ามามีส่วนร่วมในการรับรู้ เข้าใจส่งเสริม สนับสนุนและช่วยเหลือเพื่อเชื่อมโยงผู้ถูกคุมความประพฤติให้กลับคืนสุ่ชุมชนได้ อย่างแนบเนียนยิ่งขึ้น  การที่กรมคุมประพฤติได้นำการมีส่วนร่วมของประชาชน มาใช้ในการดำเนินการแก้ไขฟื้นฟูผู้กระทำผิดนั้น เพราะการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรม ไม่สามารถทำได้โดยเจ้าหน้าที่ของรัฐแต่ฝ่ายเดียวหากคำนึงถึงสังคมโดยส่วนรวมแลัว จะเห็นว่าอาชญากรรมเป็นสิ่งที่มีผลกระทบต่อสังคมโดยส่วนรวมดังนั้น จึงควรเป็นภาระหน้าที่ของประชาชนในสังคมที่ควรจะช่วยกันป้องกันแก้ไขปัญหาอาชญากรรมด้วย ปัจจุบันประเทศต่าง ๆ จึงได้พยายามให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการแก้ไขและป้องกันอาชญากรรม ซึ่งเกิดผลดีโดยทั่วไป ดังนั้น 

โครงการที่เกี่ยวข้องกับการแก้ไขฟื้นฟูผู้กระทำผิด และประชาชนได้มีส่วนร่วม ได้แก่
1.     งานพัฒนาการแก้ไขฟื้นฟูผู้กระทำผิด
2.     งานบริการสังคม
3.     งานสงเคราะห์ผู้กระทำผิดที่เป็นผู้ใหญ่
4.     โครงการอาสาสมัครคุมประพฤติ กระทรวงยุติธรรม 

งานพัฒนาการ แก้ไขฟื้นฟูผู้กระทำผิด (Rehabilitation Development Tasks)
        ในกระบวนการงานคุมประพฤติผู้กระทำผิดที่เป็นผู้ใหญ่วัตถุประสงค์หลักของการคุมประพฤติ คือ การให้ความช่วยเหลือ แนะนำ แก้ไขปรับปรุง และส่งเสริมให้ผู้ถูกคุมคามประพฤติได้กลับตนเป็นพลเมืองดี โดยไม่หวนกลับไปกระทำความผิดซ้ำอีก  ซึ่งผู้ถูกคุมความประพฤตินั้นจะมีความแตกต่างกันทั้งในด้านสถานะทางสังคม ประวัติส่วนตัว สภาวะอารมณ์ และฐานความผิด ดังนั้นจึงจำเป็นต้องได้รับการแก้ไขฟื้นฟูให้เหมาะสมตามความต้องการเป็นรายบุคคล ทั้งในด้านพฤติกรรมและอารมณ์ การปรับทัศนคติ การเข้าใจปัญหาและรู้จักการแก้ไขปัญหา ด้วยเทคนิคและวิธีการที่แตกต่างกัน ดังนี้
1.     การจัดอบรมให้ความรู้แก่ผู้ถูกคุมความประพฤติ
2.     การแก้ไขฟื้นฟูโดยใช้หลักธรรมทางศาสนา
    -         การอบรมธรรมะ
    -         การจัดค่ายจริยธรรม
    -         การบรรพชาและอุปสมบท
3…การให้คำปรึกษาจิตวิทยาแบบกลุ่ม
        วัตถุประสงค์
1.     เพื่อแก้ไขฟื้นฟูผู้ถูกคุมความประพฤติที่มีปัญหาทางด้านพฤติกรรมและอารมณ์โดยช่วยให้ผู้ถูกคุมความประพฤติสามารถปรับตัวให้เข้ากับระเบียบกฎเกณฑ์ของสังคม ตลอดจนหาแนวทางในการแก้ไขปัญหาในวิถีทางที่ถูกต้อง
2.     เพื่อส่งเสริมให้ผู้ถูกคุมความประพฤตินำหลักของศาสนามาใช้ในการดำเนินชีวิตอีกทั้งปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรม เพื่อให้เกิดทัศนคติและค่านิยมอันดีงาม ตลอดจนพัฒนาความรู้สึกรับผิดชอบต่อตนเองและสังคมส่วนรวม
3.     เพื่อให้ผู้ถูกคุมความประพฤติได้มีความรู้ความเข้าใจถึงระเบียบและกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับฐานความผิดที่ตนเองได้กระทำ ตลอดจนกฎหมายอื่น ๆ อันจะทำให้รู้ถึงเหตุปัจจัยที่จะก่อให้เกิดการกระทำผิด วิธีหลีกเลี่ยงและป้องกันมิให้กระทำผิดใดๆ อีก
4.     เพื่อเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจในเรื่องอื่น ๆ ที่จะส่งผลให้ผู้ถูกคุมความประพฤติได้เกิดการพัฒนาคุณภาพชีวิตของตนเอง รวมทั้งการพัฒนาทัศนคติและจิตสำนึกที่ดีให้กับตนเอง

งานสงเคราะห์ผู้กระทำผิดที่เป็นผู้ใหญ่ (Social WelfareTasks)
        ผู้กระทำผิดที่เข้าสู่กระบวนการงานคุมประพฤติผู้กระทำผิดที่เป็นผู้ใหญ่ส่วนหนึ่งเป็นผู้ด้อยโอกาสทางสังคมที่มีปัญหาด้านต่าง ๆ เป็นเหตุให้คนเหล่านี้ขาดศักยภาพในการแก้ไขปรับปรุงตนเองให้เป็นพลเมืองดี ดังนั้นการให้การสงเคราะห์ผู้กระทำผิดที่เข้าสู่กระบวนการงานคุมประพฤติ จึงเป็นภารกิจที่สำคัญประการหนึ่งของงานคุมประพฤติ อันเป็นการเสริมสร้างศักยภาพในการแก้ไขฟื้นฟูและปรับปรุงตนเองเพื่อให้กลับกลายมาเป็นผู้ที่สามารถช่วยเหลือตนเองและสังคมได้ วิธีการในงานสงเคราะห์ดังกล่าวได้แก่
    1. การประกันตัวจำเลยในระหว่างการสืบเสาะและพินิจ
    2. การสงเคราะห์ค่าอาหารและค่าพาหนะจำเลย
    3. การให้การศึกษาแก่ผู้ถูกคุมความประพฤติ
    4. การอบรมด้านอาชีพและฝึกวิชาชีพให้แก่ผู้ถูกคุมความประพฤติ
    5. การส่งเสริมด้านการหางานทำให้แก่ผู้ถูกคุมความประพฤติ
    6. การให้ผู้ถูกคุมความประพฤติยืมทุนประกอบอาชีพ
    7. การให้การสงเคราะห์ค่าอาหารและค่าพาหนะแก่ผู้ถูกคุมความประพฤติ
    8. การสงเคราะห์ด้านการรักษาพยาบาลสุขภาพกายและสุขภาพจิตและอาการติดสารเสพติดให้โทษ
    9. การให้บริการอื่น ๆ ที่จำเป็นแก่ผู้ถูกคุมความประพฤติ
อย่างไรก็ดี การสงเคราะห์ผุ้กระทำผิดในลักษณะดังกล่าวจำเป็นต้องใช้งบประมาณจำนวนมาก แต่รัฐบาลมีงบประมาณไม่เพียงพอในการนี้จึงมีการก่อตั้ง มูลนิธิแก้ไขฟื้นฟูและสงเคราะห์ผู้กระทำผิด (Foundation for the Rehabilitation and After-Care Service for the offenders)  โดยได้รับการจดทะเบียนเมื่อวันที่ 8 ตุลาคม 2525 และนำดอกผลที่เกิดจากเงินทุนมูลนิธิ ไปใช้จ่ายในการสงเคราะห์ผู้กระทำผิดข้างต้น โดยยึดหลักสำคัญว่า “ ช่วยเขา เพื่อให้เขาช่วยตนเองได้และกลับตนเป็นพลเมืองดีต่อไป “

    ศูนย์ฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด (The Drug Addict Rehabilitation Center)
        ปัญหาผู้ติดยาเสพติด ให้โทษเป็นปัญหาสำคัญของประเทศไทย มีผลกระทบทั้งในทาง เศรษฐกิจ สังคม ชุมชน และครอบครัว แต่ปัจจุบัน เป็นที่ยอมรับกันแล้วว่าบุคคลดังกล่าวเสมือนผู้ป่วยที่ต้องได้รับการบำบัดรักษา รัฐจึงได้วางมาตรการให้ผู้ติดยาเสพติดที่ตกเป็นผู้ต้องหาพ้นจากการติดยาเสพติดด้วยวิธีการบำบัดรักษา จึงได้มีการตราพระราชบัญญัติฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด พ.ศ.2534 ขึ้น และกำหนดให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม รักษาการตามพระราชบัญญัติกับทั้งให้มีอำนาจจัดตั้งศูนย์ฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด ต่อมากระทรวงยุติธรรมจึงได้มีคำสั่งให้กรมคุมประพฤติมีอำนาจหน้าที่และรับผิดชอบดำเนินการตามพระราชบัญญัติและเมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม 2540 คณะรัฐมนตรีได้ลงมติอนุมัติในหลักการโครงการฟื่นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดขึ้น ซึ่งมีประโยชน์และความสำคัญ เป็นผลดีทั้งต่อผู้ติดยาเสพติดเอง และผลดีต่อสังคมส่วนรวม

 การรับมอบงานคุมประพฤติ ผู้ได้รับพักการลงโทษ และลดวันต้องโทษจำคุกจากกรมราชทัณฑ์   
    1. ผู้ได้รับการปล่อยคุมประพฤติจากเรือนจำ ต่างจากผู้ถูกคุมประพฤติจากกลุ่มเดิมของกรมคุมประพฤติอย่างไร
        เดิมกรมคุมประพฤติจะดูแลผู้กระทำผิดที่เป็นผู้ใหญ่ที่ศาลได้พิจารณารอการลงโทษหรือรอการกำหนดโทษไว้ แต่ภายหลังปฏิรูประบบราชการตามกฎกระทรวงว่าด้วยการแบ่งส่วนราชการกรมคุมประพฤติ พ.ศ.2545 ได้กำหนดอำนาจหน้าที่ให้กรมคุมประพฤติดูแลผู้ต้องขังในเรือนจำที่ได้รับการพิจารณาปล่อยออกไป อยู่นอกเรือนจำ ก่อนครบกำหนดโทษโดยมีเงื่อนไขการคุมประพฤติด้วย ซึ่งนักโทษเด็ดขาดที่จะได้รับการปล่อยตัวคุมประพฤติ จะมี 2 แบบคือ ผู้ที่ได้รับการพักการลงโทษ , และ ผู้ที่ได้รับลดวันต้องโทษจำคุก
        การคุมประพฤติเป็นระยะแห่งการพิสูจน์หรือทดลองความประพฤติ นิสัย ใจคอ ศีลธรรม จริยธรรม ระเบียบวินัย และการปรับตัวให้เข้ากับผู้อื่น เป็นวิธีการที่เปิดโอกาสให้ผู้กระทำผิดที่จำคุกในเรือนจำแล้วระยะหนึ่ง ได้พิสูจน์ตนเองว่า มีความสามารถเพียงพอ หรือมีความพร้อมที่จะกลับตนเป็นพลเมืองดีของสังคมได้หรือไม่
    2.พนักงานคุมประพฤติ ของกรมคุมประพฤติจะมีหน้าที่รับผิดชอบจากการรับโอนงานจากกรมราชทัณฑ์เพิ่มขึ้นอย่างไร
        ขั้นตอนที่กรมคุมประพฤติรับผิดชอบเพิ่มขึ้น คือ การสืบเสาะข้อเท็จจริงก่อนปล่อย โดยแสวงหาข้อมูลประวัติของนักโทษเด็ดขาดนอกเรือนจำ และผู้อุปการะความยินดีรับอุปการะสภาพแวดล้อม ถิ่นที่อยู่อาศัยของผู้ที่จะได้รับการปลดปล่อย การยอมรับ การให้อภัยของโจทก์หรือฝ่ายผู้เสียหาย ความสามารถในการปรับตนเป็นพลเมืองดี ข้อมูลต่าง ๆ พนักงานคุมประพฤติจะรวบรวมวิเคราะห์เพื่อนำเสนอคณะกรรมการพิจารณาพักการลงโทษหรือคณะกรรมการลดวันต้องโทษจำคุกพิจารณากลั่นกรอง ก่อนที่จะมีการอนุมัติให้ปล่อยตัวคุมประพฤติ    
    3. กรมคุมประพฤติจะดูแลนักโทษ เหล่านี้อย่างไร
        หลังจากที่ได้รับการปล่อยตัวจากเรือนจำ ผู้ถูกคุมความประพฤติจะต้องปฏิบัติตนตามเงื่อนไขที่กำหนด ซึ่งพนักงานคุมประพฤติจะมีหน้าที่คอยดูแลให้ปฏิบัติตามเงื่อนไข มอบอาสาสมัครคุมประพฤติเยี่ยมบ้านเพื่อดูสภาพแวดล้อม ที่อยู่อาศัย การประกอบอาชีพ การดำรงชีวิตประจำวันว่ามีสภาพความเป็นอยู่อย่างไร มีปัญหาอะไรเกิดขึ้นหรือไม่ เพื่อจะได้ให้การช่วยเหลือแนะนำให้สามารถดำรงชีวิต กลับตนเป็นพลเมืองดีไม่ไปกระทำผิดซ้ำขึ้นอีกภายหลังพ้นโทษ นอกจากนั้นขั้นตอนการติดตามสอดส่องมีการจัดกิจกรรมแก้ไขฟื้นฟู เพื่อให้ผู้ถูกคุมความประพฤติเรียนรู้วิธีการปรับตนและสามารถแก้ไขปัญหาของตนเองได้ และในกรณีที่ผู้ถูกคุมความประพฤติปฏิบัติผิดเงื่อนไขที่กำหนด หรือไม่ปฏิบัติให้เป็นไปตามเงื่อนไข ผู้ถูกคุมความประพฤติอาจถูกขังโดยไม่ต้องมีหมายจับหรือหมายจำคุก และนำกลับมาคุมขังในเรือนจำต่อไปตามกำหนดโทษที่เหลืออยู่
    4. สังคมจะได้อะไรจากการคุมประพฤติ
        เป็นการลดความแออัดในเรือนจำ และเป็นการลดงบประมาณรายจ่ายของรัฐในการควบคุมนักโทษในเรือนจำ เป็นการช่วยให้นักโทษมีโอกาสทำงานรับผิดชอบเลี้ยงดูครอบครัว และสังคมง่ายขึ้น นอกจากนี้ยังให้ชุมชนและสังคมเข้ามามีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาผู้กระทำความผิดและให้การยอมรับ ให้อภัยผู้ที่เคยต้องโทษจำคุกในฐานะสมาชิกของสังคมอันเป็นการป้องกันสังคม จากการกระทำผิดซ้ำ
    5. บทบาทของอาสาสมัครคุมประพฤติ  ( อสค.)

        นอกจากนี้กรมคุมประพฤติยังรับมอบงานอาสาสมัครคุมประพฤติและอาสาสมัครคุมประพฤติของกรมราชทัณฑ์อีก จำนวน 11,721 คน ซึ่งอาสาสมัครคุมประพฤติกรมราชทัณฑ์มีภาระหน้าที่ในการสืบเสาะข้อเท็จจริงผู้ต้องขังก่อนปล่อยคุมประพฤติ การแก้ไขฟื้นฟูและสงเคราะห์ผู้ถูกคุมความประพฤติ อย่างไรก็ตามกรมคุมประพฤติ กระทรวงยุติธรรม ก็มีอาสาสมัครคุมประพฤติของกระทรวงยุติธรรมอยู่แล้ว ขณะนี้มีจำนวน 6,910 คน 
        เมื่อกรมคุมประพฤติรับมอบงานอาสาสมัครคุมประพฤติของกรมราชทัณฑ์มาแล้ว กรมคุมประพฤติจึงมีภารกิจที่จะต้องดำเนินการรวมอาสาสมัครคุมประพฤติให้เป็นหนึ่งเดียว เพื่อประโยชน์ต่ออาสาสมัครคุมประพฤติและการปฏิบัติงาน ซึ่งจะส่งผลให้งานมีประสิทธิภาพ อันจะเป็นประโยชน์ต่อสังคมและประเทศชาติต่อไป   ทั้งนี้กรมคุมประพฤติจะเริ่มปฏิบัติงานคุมประพฤติที่ได้รับมอบจากกรมราชทัณฑ์ ตั้งแต่วันที่ 27 มกราคม 2546 เป็นต้นไป

    ควรจะปฏิบัติตัวอย่างไรเมื่อต้องเกี่ยวข้องกับ งานคุมประพฤติ 
    1.เมื่อคุณกระทำความผิดทางอาญา และศาลมีคำสั่งให้พนักงานคุมประพฤติทำการสืบเสาะและพินิจ คุณจะอยู่ในฐานะจำเลย สิ่งแรกที่คุณต้องปฏิบัติหลังจากการได้รับการประกันตัว
    2.คุณต้องไปพบคุมประพฤติ ณ สำนักงานพร้อมทั้งนำเอกสารสำคัญบัตรประจำตัวประชาชน ทะเบียนบ้าน หลักฐาน การศึกษา หรือเอกสารอื่น ๆ ไปแสดงต่อพนักงานคุมประพฤติด้วย
    3. ถ้ามีขัดข้องจริง ๆ ที่ไม่สามารถไปพบพนักงานคุมประพฤติได้ ให้รีบแจ้งพนักงานคุมประพฤติโดยด่วน
    4.ถ้าคุณต้องสามารถนำบิดา มารดา สามี ภรรยา หรือญาติ พี่น้องพร้อมนำหลักฐาน เช่น บัตรประจำตัวประชาชนของบุคลดังกล่าวไปพบพนักงานคุมประพฤติด้วย จะทำให้การสืบเสาะในคดีของคุณรวดเร็วขึ้น
    5.ถ้าคุณต้องขังระหว่างการพิจารณาคดี คือ ไม่สามารถประกันตัวได้ ให้บิดา มารดา หรือญาติพี่น้องของคุณไปพบพนักงานคุมประพฤติแทน พร้อมทั้งนำเอกสารสำคัญประจำตัวของคุณไปด้วย
    6.สำนักงานคุมประพฤติทุกแห่ง มีโครงการสงเคราะห์จำเลยและครอบครัว ระหว่างการพิจารณาคดี โดยการประกันตัวจำเลยด้วย คุณสามารถสอบถามรายละเอียดได้จากพนักงานคุมประพฤติ
    7.เมื่อศาลมีคำพิพากษาในคดีที่คุณกระทำความผิดโดยให้รอการลงโทษ และกำหนดเงื่อนไขเพื่อคุมความประพฤติ คุณจะอยู่ในฐานะผู้ถูกคุมความประพฤติ
    8.คุณต้องไปพบพนักงานคุมประพฤติ ภายในวันที่ศาลมีคำพิพากษาหรือวันรุ่งขึ้นพร้อมเอกสารสำคัญประจำตัว
    9.คุณจะต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขการคุมความประพฤติที่ศาลกำหนดโดยเคร่งครัด และต้องแก้ไขปรับปรุงสิ่งที่เคยผิดพลาด ถ้าไม่ปฏิบัติ คุณจะมีความผิด ศาลอาจยกเลิกการคุมความประพฤติและลงโทษจำคุกตามที่รอการลงโทษไว้

ข้อมูลจาก : สำนักงานคุมประพฤติจังหวัดมุกดาหาร 

ประวัติกระทรวงยุติธรรม 
ลักษณะการปกครองของไทยในสมัยสุโขทัยยุคแรก สภาพสังคมและการจัดระเบียบการบริหาร ราชการแผ่นดินเป็นไปอย่างเรียบง่ายการใช้อำนาจตุลาการเป็นไปในลักษณะการชำระความแบบพ่อปกครองลูก ในยุค สุโขทัยตอนปลายรูปแบบการปกครองได้พัฒนาขึ้นมาอย่างมีแบบแผนเพื่อให้สอดคล้องกับสภาพสังคมที่เริ่มใหญ่โตขึ้น โดยแบ่งส่วนราชการออกเป็น 4 กรม คือ เวียง วัง คลัง นา โดยมีเสนาบดีกรมวังเป็นผู้ชำระความแทนพระมหากษัตริย์ แต่อำนาจทางตุลาการอย่างเด็ดขาดขึ้นอยู่กับพระมหากษัตริย์ ต่อมาในสมัยกรุงศรี รูปแบบการชำระความได้ปรับปรุงอย่างเป็นแบบแผนมากขึ้น จนกระทั่งได้มีการจัดตั้งศาล ขึ้นเป็นครั้งแรก และเริ่มมีศาลในกรมอื่นๆตามมา ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์การจัดการศาลเริ่มมีความซับซ้อนมากขึ้นและเกิดปัญหาต่างๆตามมาจนทำให้ประเทศไทย ประสบวิกฤตทางการศาลในยุคพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีสาเหตุสำคัญดังนี้คือ
1 . ความไม่เหมาะสมของระบบการศาลเดิม 
      ระบบศาลที่มีศาลแยกย้ายกันอยู่ตามกระทรวงกรมต่างๆ มากมายและระบบการดำเนินกระบวนการพิจารณาและ พิพากษาคดีที่ต้องทำงานร่วมกันหลายหน่วยงานจึงทำให้การพิจารณาคดีเกิดความล่าช้าสับสน และยังก่อให้เกิดปัญหาเรื่องอำนาจศาล 
2. ความไม่เหมาะสมของวิธีพิจารณาความแบบเดิม 
      วิธีพิจารณาและพิพากษาคดี รวมถึงการลงโทษขาดความเหมาะสมและไม่เป็นธรรม คดีเกิดความล่าช้า และจำนวนคดีความก็เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว 
3. ความบีบคั้นจากต่างประเทศในด้านการศาล 
      อันเนื่องจากชาวต่างประเทศมีสิทธิสภาพนอกอาณาเขตในประเทศ ซึ่งเป็นปัญหาในการ ปกครองประเทศเป็นอันมาก เพราะ กงสุลต่างประเทศถือโอกาสตีความสนธิสัญญา และไม่เคารพ ยำเกรง ต่อกฎหมายและการศาลไทย 
   
 จึงทำให้ประเทศไทยต้องปฏิรูประบบกฎหมายและการศาลไทยใหม่อย่างเร่งด่วน พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ประกาศจัดตั้งกระทรวงยุติธรรมขึ้น เมื่อวันที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2434 (รศ. 110) มีวัตถุประสงค์เพื่อรวบรวมศาลที่กระจัดกระจายตามกระทรวงต่างๆ เข้ามาไว้ในกระทรวงยุติธรรม ให้มีเสนาบดีเป็นประธาน เพื่อที่จะจัดวางรูปแบบศาลและกำหนดวิธีพิจารณาคดีขึ้นใหม่ โดยมีกรมพระสวัสดิวัฒนวิศิษฎ์เป็นเสนาบดีกระทรวงยุติธรรมคนแรก ได้ทรงวางระเบียบศาลตามแบบใหม่ ซึ่งเดิมตามประกาศจัดตั้งกระทรวงยุติธรรมมีศาลทั้งหมด 16 ศาล ให้รวมมาเป็นศาลสถิตย์ยุติธรรมให้เหลือเพียง 7 ศาล คือ  
  > ยกศาลฎีกา เรียกเป็น ศาลอุทธรณ์คดีหลวงศาลอุทธรณ์มหาดไทย เรียกเป็น อุทธรณ์คดีราษฎร์ 
   >ศาลนครบาล กับศาลอาญานอก รวมเรียกว่า ศาลพระราชอาญา 
   >ศาลแพ่งเกษม ศาลกรมวัง ศาลกรมนา รวมเรียกว่า ศาลแพ่งเกษม 
   >ศาลแพ่งกลาง ศาลกรมท่ากลาง ศาลกรมท่าซ้าย ศาลกรมท่าขวา ศาลธรรมการ และ ศาลราชตระกูล รวมเรียกว่า 
         ศาลแพ่งกลาง 
   >ศาลสรรพากร ศาลมรฎก รวมเรียกว่า ศาลสรรพากร 
   >ศาลต่างประเทศ คงไว้ตามเดิม
      ต่อมาสมัยพระองค์เจ้าระพีพัฒนศักดิ์ พระเจ้าบรมวงวศ์เธอ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ ทรงเป็นเสนาบดี รศ. 115 - รศ. 116ได้ทรงจัดตั้งโรงเรียนกฎหมายขึ้นในกระทรวงยุติธรรมเพื่อสั่งสอนวิชากฎหมายตามแบบอารยประเทศโดยทรงสอน วิชากฎหมายและเรียบเรียงตำรากฎหมายต่างๆ ไว้มากมาย จึงได้รับสมัญญาว่าเป็นบรมครูกฎหมาย
       ในปี พ.ศ. 2451 (รศ. 127) ได้มีประกาศให้ใช้พระธรรมนูญศาลยุติธรรม กับพระราชบัญญัติวิธีพิจารณา ความแพ่ง รศ. 127 เปลี่ยนแปลงและปรับปรุงราชการกระทรวงยุติธรรมและศาลยุติธรรมให้ดีขึ้น ให้ศาล ทั้งหมดตามประกาศตั้งกระทรวงยุติธรรมให้ยกเสีย คงให้แบ่งเป็น ศาลฎีการับผิดชอบต่อพระบาทสมเด็จพระเจ้า อยู่หัว และให้มีศาลขึ้นอยู่ในกระทรวงยุติธรรม 2 ประเภท คือ ศาลสถิตย์ยุติธรรมกรุงเทพฯ ได้แก่ ศาลอุทธรณ์ ศาลพระราชอาญา ศาลแพ่ง ศาลต่างประเทศ และศาลโปริสภา กับศาลหัวเมือง ต่อมาได้มีประกาศจัดระเบียบราชการกระทรวงยุติธรรม ลงวันที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2455 แยกหน้าที่ ราชการกระทรวงยุติธรรมเป็นธุรการส่วนหนึ่งและฝ่ายตุลาการอีกส่วนหนึ่งและยกศาลฎีกามารวมอยู่ในกระทรวงยุติธรรม และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งอธิบดีศาลฎีกาเป็นประธานในแผนกตุลาการ โดยกรมหลวงพิชิตปรีชากร ได้ทรง ได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็น อธิบดีศาลฎีกาคนแรก ในส่วนระเบียบราชการนั้น ให้เสนาบดีกระทรวงยุติธรรม มีอำนาจและหน้าที่บังคับบัญชาราชการและรับผิดชอบในบรรดาราชการที่เป็นส่วนธุรการทั่วไป แต่ในส่วนที่เป็นตุลาการ ให้เสนาบดีเป็นที่ปรึกษาหารือและฟังความเห็นอธิบดีศาลฎีกาแล้ววินิจฉัยไปตามที่ตกลงกัน ถ้ามีความเห็นแตกต่างกัน ให้เสนาบดีพร้อมอธิบดีศาลฎีกา นำความกราบบังคมทูลเรียนพระราชปฏิบัติ 
              
      นอกจากนี้ให้ศาลฎีกา มีหน้าที่ดำริวาง ระเบียบราชการฝ่ายตุลาการ และนำความเห็นเสนอเสนาบดี ตลอดจนการตั้ง การเลื่อน หรือเปลี่ยนตำแหน่ง ผู้พิพากษา ส่วนการแก้ข้อขัดข้องปัญหากฎหมายให้เป็นหน้าที่อธิบดีศาลฎีกา เป็นผู้วินิจฉัย ถ้ามีข้อใดจำต้องเรียน พระราชปฏิบัติ ให้อธิบดีศาลฎีกานำความขึ้นกราบบังคมทูล จนในปี พ.ศ. 2471จึงได้ยกเลิกประกาศจัดระเบียบ ราชการกระทรวงยุติธรรม ฉบับ พ.ศ. 2455 ด้วยการประกาศจัดระเบียบราชการกระทรวงยุติธรรม ฉบับลงวันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2471 ที่กำหนดให้เสนาบดีกระทรวงยุติธรรมเป็นประธาน มีหน้าที่รับผิดชอบบังคับบัญชาข้าราชการ ฝ่ายธุรการและตุลาการที่นอกจากการพิจารณาพิพากษาคดีในศาลซึ่งเป็นอำนาจอิสระของผู้พิพากษา แต่เพื่อให้เสนาบดี มีโอกาสตรวจตราราชการในศาลยุติธรรมให้ได้ผลดียิ่งขึ้น จึงให้เสนาบดีมีอำนาจนั่งกำกับการพิจารณาปรึกษาคดี ในศาลยุติธรรมได้ทุกศาล 
     และในเวลาต่อมาได้มีประกาศใช้พระราชบัญญัติข้าราชการฝ่ายตุลาการ เพื่อปรับปรุง แก้ไขระเบียบราชการตุลาการให้เหมาะสมแก่กาลสมัยและส่งเสริมสมรรถภาพของผู้พิพากษา ตลอดจนการกวดขันในเรื่อง วินัยและมารยาทเพื่อรักษาไว้ซึ่งความเที่ยงธรรมและเชื่อถือศรัทธาของประชาชนในราชการศาลยุติธรรม จึงได้มีประกาศใช้ พระธรรมนูญศาลยุติธรรม พ.ศ.2477 ให้เรียกศาลที่สังกัดกระทรวงยุติธรรมว่า ศาลยุติธรรม และให้แบ่งศาลออกเป็น 3 ชั้นคือ ศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์ และศาลฎีกา โดยศาลชั้นต้นจะแบ่งเป็นศาลในกรุงเทพฯและศาลในหัวเมือง ตามพระธรรมนูญยุติธรรมวรรคหนึ่งบัญญัติว่า ศาลยุติธรรมทั้งหลายตามพระธรรมนูญนี้ให้สังกัดกระทรวงยุติธรรม ดังนั้นจึงหมายรวมไปถึงศาลอื่นตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลนั้น ๆ ด้วย แต่ไม่รวมศาลทหาร ซึ่งสังกัดอยู่กับ กระทรวงกลาโหม ระบบศาลยุติธรรมได้มีวิวัฒนาการจนมีความเจริญรุ่งเรืองเรื่อยมาโดยการแก้ไขเพิ่มเติม พระธรรมนูญศาลยุติธรรมอีกหลายครั้ง และได้มีพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลต่าง ๆ เพิ่มขึ้นเพื่ออำนวยความ ยุติธรรมแก่ประชาชนผู้มีอรรถคดีอย่างเสมอภาคเป็นธรรมรวดเร็ว และทั่วถึงโดยมีประธานศาลฎีกาเป็นผู้วาง ระเบียบราชการฝ่ายตุลาการของศาลทั้งหมด ทั้งนี้ โดยความเห็นชอบของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม
      ต่อมาในปี พ.ศ. 2457 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตั้ง เนติบัญญัติยสภาขึ้น เป็นสภาในพระบรมราชูปถัมภ์ มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการศึกษานิติศาสตร์และการว่าความ ควบคุมความประพฤติของทนายความให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยทนายความ ในปี พ.ศ. 2491 ปัจจุบันเรียกว่า สำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัญฑิตยสภา 
      อย่างไรก็ตามในปี พ.ศ. 2495 ได้มีการจัดตั้งศาลคดีเด็กและเยาวชน และมีพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งแผนกคดีเด็ก และเยาวชนในศาลจังหวัดขึ้นอีกด้วย ซึ่งปัจจุบันศาลคดีเด็กและเยาวชนได้เปลี่ยนเป็นศาลเยาวชนและครอบครัว และแผนกคดีเด็กและเยาวชนในศาลจังหวัดเปลี่ยนเป็นศาลจังหวัดแผนกคดีเยาวชนและครอบครัว ตามพระราชบัญญัติ จัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2534 
      ในส่วนของศาลชำนัญพิเศษ ได้จัดให้มีศาลพิเศษขึ้นเพื่อพิจารณาคดีที่มีลักษณะพิเศษออกไปจากคดีธรรมดา เพื่อให้การดำเนินกระบวนพิจารณาพิพากษาคดีได้รับการพิจารณาจากผู้พิพากษาที่มีความรู้ความชำนาญเฉพาะเรื่อง โดยมีศาลชำนัญพิเศษ 4 ศาล คือ ศาลแรงงานกลาง ศาลภาษีอากรกลาง ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้า ระหว่างประเทศกลาง และศาลล้มละลายกลาง ซึ่งสังกัดอยู่ในกระทรวงยุติธรรมทั้งสิ้น ปัจจุบันศาลทั่วราชอาณาจักร มีจำนวน 196 ศาล เป็นศาลฎีกา 1 ศาล ศาลอุทธรณ์ 10 ศาล ศาลชั้นต้น 185 ศาล 
     
      ในปี พ.ศ. 2534 ได้มีการตราพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2534 มาตรา 21 บัญญัติให้ กระทรวงยุติธรรมมีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการศาลยุติธรรมแต่ไม่รวมถึงการพิจารณาพิพากษาคดี โดยมีบทบาทสำคัญ ในการบริหารจัดการ การจัดระบบบริหารงานบุคคลและจัดอัตรากำลัง มีระบบการศาลที่มีประสิทธิภาพ ตลอดจน สนับสนุนส่งเสริมให้ผู้พิพากษาสามารถปฏิบัติหน้าที่ของตนได้โดยสะดวกรวดเร็วและเที่ยงธรรม และสามารถ อำนวยความยุติธรรมให้แก่ประชาชนอย่างทั่วถึง โดยมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมเป็นผู้บังคับบัญชาสูงสุด และรับผิดชอบกิจการทั้งปวง และกำหนดให้กระทรวงยุติธรรมมีภารกิจหลัก ดังนี้ 
                1.ธำรงไว้ซึ่งความศักดิ์สิทธิ์แห่งกฎหมาย
                2.อำนวยความยุติธรรมแก่ประชาชนอย่างเสมอภาค เป็นธรรมและรวดเร็ว รวมถึงการขยายงานของ ศาลออกไปอย่างทั่วถึง เพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่ประชาชน และพัฒนาระบบการพิจารณา พิพากษาคดีให้สอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ
                3. รักษาสถาบันตุลาการให้มีเกียรติ ศักดิ์ศรี สามารถดำรงตนเป็นอิสระเพื่อการพิจารณาพิพากษาอรรถคดี ได้อย่างเป็นธรรม
                4. ปรับปรุงแก้ไขและเสนอกฎหมาย ให้มีความเป็นธรรมและสอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจและสังคม
                5. พัฒนางานสนับสนุนการอำนวยความยุติธรรม ได้แก่ งานบังคับคดีและพิทักษ์ทรัพย์ งานคุมประพฤติ ผู้กระทำผิดที่เป็นผู้ใหญ่ งานพิทักษ์และคุ้มครองเด็ก เยาวชนและครอบครัว การระงับข้อพิพาททาง แพ่งโดยวิธีอนุญาตโตตุลาการ รวมทั้งสรรหามาตรการสนับสนุนการอำนวยความยุติธรรมอื่นๆ เพื่อให้การอำนวยความยุติธรรมเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
                6. ส่งเสริมให้มีการป้องกันและแก้ไขปัญหาอาชญากรรม เด็กและเยาวชนที่กระทำผิดในสังคมร่วมกับชุมชน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
                7. พัฒนาระบบการบริหารและการปฏิบัติราชการให้ทันสมัย เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อราชการและประชาชน
                8.พัฒนาบุคลากรให้มีความรู้ ทักษะ ทัศนคติและจริยธรรมให้เหมาะสมกับการปฏิบัติราชการอย่างมีประสิทธิภาพ ซื่อสัตย์ สุจริต อุทิศตนให้แก่ราชการ รวมทั้งการเสริมสร้างคุณธรรมและสร้างความภาคภูมิใจใน สภานภาพและบทบาทหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ทุกฝ่าย
                9. มุ่งเน้นการให้บริการแก่ประชาชนด้วยความสะดวก รวดเร็ว เป็นธรรมและปลอดภัย และส่งเสริมการให้ความรู้ ความเข้าใจในกฎหมายและกระบวนการยุติธรรมแก่ประชาชน 

 ตามพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2534 ได้กำหนดให้กระทรวงยุติธรรมมีส่วนราชการ ดังนี้

               1.สำนักงานเลขานุการรัฐมนตรี มีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับราชการทางการเมือง การรับเรื่องการร้องทุกข์และประมวลความคิดเห็นเสนอรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม เพื่อที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมจะได้กำหนดนโยบายในการ บริหารงานได้อย่างเหมาะสมและถูกต้อง
               2.สำนักงานปลัดกระทรวง มีหน้าที่ความรับผิดชอบในงานธุรการของศาลทั้งหลาย และบริหารงานธุรการของสำนักงานอธิบดีผู้พิพากษา ภาครวมทั้งงานธุรการของสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน ให้ดำเนินไปโดยเรียบร้อย
               3.กรมบังคับคดี มีอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบเกี่ยวกับงานบังคับคดีแพ่ง งานบังคับคดีล้มละลายของศาลทั่วราชอาณาจักร และสำนักงาน วางทรัพย์ ตลอดจนทำหน้าที่ชำระบัญชีห้างหุ้นส่วนบริษัทหรือนิติบุคคลอื่นในฐานะผู้ชำระบัญชีตามคำสั่งของศาล
               4.สำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ มีอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบในการให้คำแนะนำเกี่ยวกับกฎหมายทั้งในและต่างประเทศให้แก่กระทรวงฯ ศึกษาวิจัยและเสนอแนะเกี่ยวกับระบบงานของศาลและกระทรวงยุติธรรม ปฏิบัติงาน ธุรการให้แก่คณะกรรมการตุลาการ จัดการฝึกอบรมและพัฒนาข้าราชการของกระทรวงยุติธรรม ดำเนินงานห้องสมุดของกระทรวงยุติธรรม
               5.กรมคุมประพฤติ มีอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบในการส่งเสริมสนับสนุนเกี่ยวกับการดำเนินการแก้ไขฟื้นฟูและ สงเคราะห์ผู้กระทำความผิด พัฒนาระบบรูปแบบและวิธีการคุมประพฤติผู้กระทำผิดที่เป็นผู้ใหญ่ ประสานแผนของกรมให้สอดคลองกับนโยบายและแผนแม่บทกระทรวง รวมทั้งติดตามและประเมินผล และดำเนินการเกี่ยวกับการสืบเสาะและพินิจ การควบคุมและสอดส่อง การแก้ไขฟื้นฟูและสงเคราะห์ผู้กระทำผิด

 สถานที่ตั้งกระทรวงยุติธรรม
    เดิมกระทรวงยุติธรรมตั้งอยู่ถนนราชินี เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร (สนามหลวง) ต่อมาใน วันที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2536ได้ย้ายที่ทำการมาอยู่บริเวณถนนรัชดาภิเษก อาคารศาลอาญา แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร เนื่องจากขณะนั้นมีจำนวนคดีที่ศาลแพ่ง และศาลอาญาต้องพิจารณามีเพิ่มมากขึ้น ดังนั้นเพื่อแบ่งเบาภาระศาลแพ่งและศาลอาญา กระทรวงยุติธรรมจึงมีนโยบายเร่งเปิดศาลแพ่งกรุงเทพใต้ ศาลอาญากรุงเทพใต้ขึ้น โดยใช้อาคารกระทรวงยุติธรรมเดิมเป็นที่ทำการของศาลแพ่งกรุงเทพใต้ และ ศาลอาญากรุงเทพใต้ ประกอบกับขณะนั้นอาคารศาลอาญาบริเวณถนนรัชดาภิเษก ได้ทำการก่อสร้างแล้วเสร็จ จึงมีพื้นที่ว่างพอที่จะย้ายไปทำการยังอาคารศาลอาญาดังกล่าว และภายหลังกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญเรื่อง การแยกศาลยุติธรรมออกจากกระทรวงยุติธรรมมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2543 กระทรวงยุติธรรมจึงได้ย้ายออกจากอาคารศาลอาญามาเช่าอาคารที่ทำการชั่วคราวที่อาคารซอร์ฟแวร์ปาร์ค ถนนแจ้งวัฒนะ อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี ส่วนอาคารที่ทำการกระทรวงยุติธรรมถาวร กระทรวงยุติธรรม มีโครงการที่จะก่อสร้างที่ราชพัสดุ บริเวณศูนย์ราชการ ถนนแจ้งวัฒนะ

   การแยกศาลยุติธรรมออกจากกระทรวงยุติธรรม      
   รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2540 มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชน ด้วยการให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการปกครองและตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ รวมทั้งปรับปรุงโครงสร้างทางการเมืองของประเทศให้มีประสิทธิภาพและมีความมั่นคงเพิ่มมากขึ้น โดยคำนึงถึงประโยชน์สูงสุดที่ประชาชนจะได้รับเป็นสำคัญและ มาตรา 275 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยได้บัญญัติให้ศาลยุติธรรมมีหน่วยงานธุรการที่เป็นอิสระโดยจัดตั้งเป็น สำนักงานศาลยุติธรรม ซึ่งมีอิสระในการบริหารงานบุคคล การงบประมาณ และการดำเนินการอื่น จึงทำให้กระทรวงยุติธรรมไม่มีภารกิจในการเป็นหน่วยงานธุรการให้กับศาลยุติธรรมอีกต่อไป การแยกศาลยุติธรรมออกจากกระทรวงยุติธรรมตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2543 และผลของพระราชบัญญัติระเบียบราชการศาลยุติธรรม พ.ศ. 2543 จึงทำให้กระทรวงยุติธรรมเหลือหน่วยงานในสังกัด 3 หน่วยงาน ซึ่งได้แก่
                ◊  สำนักงานปลัดกระทรวงยุติธรรม 
                ◊  กรมคุมประพฤติ 
                ◊  กรมบังคับคดี

      ส่วนสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน เป็นหน่วยงานระดับกองขึ้นตรงต่อสำนักงานปลัดกระทรวงยุติธรรม และตามพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2545 มาตรา 32 ได้กำหนดให้ กระทรวงยุติธรรม มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการบริหารจัดการกระบวนการยุติธรรม เสริมสร้างและอำนวยความยุติธรรมในสังคม และราชการอื่นตามที่มีกฎหมายกำหนด ให้เป็นอำนาจหน้าที่ของกระทรวงยุติธรรมหรือส่วนราชการที่สังกัดกระทรวงยุติธรรม โดยมาตรา 33 ได้กำหนดให้ กระทรวงยุติธรรมมีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้

    1. ส่วนราชการที่อยู่ในสังกัดกระทรวงยุติธรรม มีดังต่อไปนี้
               ◊  สำนักงานรัฐมนตรี
                ◊  สำนักงานปลัดกระทรวงยุติธรรม 
                ◊  กรมคุมประพฤติ 
                ◊  กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ 
                ◊  กรมบังคับคดี 
                ◊  กรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน 
                ◊  กรมราชทัณฑ์
                ◊  กรมสอบสวนคดีพิเศษ
                ◊  สำนักกิจการยุติธรรม 
                ◊  สถาบันนิติวิทยาศาสตร์ 

     2. ส่วนราชการในสังกัดกระทรวงยุติธรรมที่ขึ้นตรงต่อรัฐมนตรี ได้แก่ สำนักงานคณะกรรมการป้องกัน และปราบปรามยาเสพติด 
     3. ส่วนราชการที่ไม่สังกัดกระทรวงยุติธรรม แต่ขึ้นตรงต่อรัฐมนตรี ได้แก่
                ◊  สำนักงานอัยการสูงสุด 
                ◊  สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน

แนะนำการสอบ

คำแนะนำในการสอบกรมคุมประพฤติ
ในการสอบเข้ากรมคุมประพฤติ การสอบบรรจุเข้ารับราชการผู้เข้าสอบจะต้องเป็นผู้สอบผ่านการวัดความรู้ความสามารถทั่วไป (ภาค ก.) ของสำนักงาน ก.พ.  ก่อน  แต่ถ้าสอบเป็นพนักงานราชการไม่ต้องใช้ใบสอบผ่านภาค  ก ของ ก.พ.  การสอบเข้ากรมคุมประพฤติ จะมีการประเมินสมรรถนะอยู่  2  ครั้ง   คือ  ครั้งที่  1  โดยการสอบข้อเขียน   ครั้งที่  2  โดยการสัมภาษณ์  และจะต้องผ่านการประเมินสมรรถนะครั้งที่ 1 โดยวิธีการสอบข้อเขียนก่อนและเมื่อผ่านการประเมินสรรถนะครั้งที่ 1 แล้ว จึงจะมีสิทธิ์เข้ารับการประเมินสมรรถนะครั้งที่  2 โดยวิธีสอบสัมภาษณ์  ทั้งนี้จะต้องได้คะแนนสอบข้อเขียนไม่ต่ำกว่าร้อยละ  60
การเตรียมตัวสอบ
ในส่วนการสอบวิชาเฉพาะตำแหน่ง ควรอ่านให้มากๆ ศึกษาทำความเข้าใจเกี่ยวกับวิชาตำแหน่งให้ดี ข้อสอบจะเป็นระเบียบข้อกฏหมาย วิชากฎหมายก็อ่านฉบับเต็ม  ท่องให้ได้ทุกมาตราอย่าไปอ่านเเต่ช้อย มันไม่ตรงนัก  ฝึกลองวิเคราะห์ข้อสอบ หาปากกาเน้นข้อความมาขีดเพื่อจำง่าย แล้วสรุป หรือท่องให้ได้  ฝึกทำข้อสอบเก่า  โดยเฉพาะในเรื่องที่เป็นจุดบกพร่องของเราทำซ้ำๆจนเข้าใจ
ควรอ่านเนื้อหาที่จะออกสอบในประกาศ และดูเวลาว่าเหลือเวลากี่วันที่จะต้องสอบ และนำเนื้อหาการสอบมาทำความเข้าใจว่าแต่ละเรื่องเกี่ยวข้องกับอะไรบ้าง  ค้นหาเนื้อหาแต่ละเนื้อหารวบรวมทุกสิ่งอย่างที่คิดว่าเกี่ยวข้องและจำเป็น แล้วแยกใส่ในแฟ้มงานเป็นหมวดๆ เมื่อได้เนื้อหาครบหมดแล้ววิเคราะห์ว่าแต่ละเนื้อหาใช้เวลาในการอ่านเท่าไหร่ แล้วนำผลรวมออกมาเทียบกับเวลาที่เรามีในการเตรียมตัวสอบ จากนั้นนำเวลามาถัวเฉลี่ย ให้ความหนักเบากับวิชาที่จะสอบ ว่าวิชาไหนเรื่องไหนใช้เวลาเท่าไหร่  แล้วจัดทำตารางการอ่านหนังสือเป็นช่วงเวลาอาจจะแบ่งเป็นต่อสัปดาห์ หรือ 2 สัปดาห์ แล้วนำมาแปะไว้ที่ไหนก็ได้ที่เราสังเกตเห็นได้ชัด  ในการอ่านแต่ละวิชาควรอ่านอย่างน้อย 2 รอบ รอบแรกเป็นการอ่านรวมๆ เพื่อหาว่าจุดไหนสำคัญบ้างให้นำปากกาเน้นคำ Mark ไว้ รอบที่สอง จดบันทึกสิ่งที่เรา Mark ไว้ สรุปเป็นภาษาของเราเองเพื่อเอาไว้อ่านก่อนสอบ 1 วัน  และก่อนนอนนั่งสมาธิอย่างน้อย 5 นาที สวดมนต์ด้วยก็ยิ่งดี   นอกจากนี้ควรศึกษาเส้นทางการสอบ ห้องสอบให้ดี พอถึงสนามสอบให้ตรวจดูห้องสอบหรือนั่งหน้าห้องสอบรอเลยก็ได้ เพื่อป้องกันความกังวลใจ หรือเรื่องรบกวนใจ  เมื่อใกล้จะสอบควรงดการพูดจาเรื่อยเปื่อย คุยสนุกเรื่องอื่น กับเพื่อนที่ร่วมสอบ หรือใครก็ตามอย่างน้อย 1 ชั่วโมง เพื่อป้องกันสมองไปจำอย่างอื่น ให้คิดแต่เรื่องสอบอย่างเดียว
นอกจากนี้ควรหาความรู้เกี่ยวกับหน่วยงานด้วย  เช่น ประวัติ วิสัยทัศน์  พันธกิจ ค่านิยม ผู้บริหาร หน้าที่ความรับผิดชอบ  โดยการหาข้อมูลจากอินเตอร์เน็ต  และความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการเมือง เศรษฐกิจ สังคม
นอกจากวิชาการที่ต้องใช้ตามวุฒิที่จะรับแล้ว ยังต้องทำการบ้านด้วยว่าหน่วยงานนั้นมีการแบ่งองค์กรยังไง ผู้บริหารเป็นใครในแต่ละระดับ แต่ละส่วนขององค์กรทำงานอะไร มีหน้าที่อะไร ตำแหน่งที่เราจะบรรจุมีหน้าที่อะไร ไปที่หน่วยงานนั้น ถ้ามีห้องสมุดหรือเอกสารเผยแพร่ควรไปอ่านให้หมด ปัจจุบันมีประเด็นที่เกี่ยวข้องกับหน่วยงานหรือตำแหน่งที่จะทำหรือไม่ อย่างไร
ส่วนในการสอบสัมภาษณ์เป็นการสอบด้วยการสนทนาหรือพูดคุยกัน ดังนั้นผู้เข้าสอบควรจะทบทวนเตรียมความรู้หรือข้อมูลในส่วนที่เป็นวิชาการหรือเนื้อหาต่าง ๆ   ที่ได้เตรียมไว้แล้วในการเตรียมตัวเข้าสอบข้อเขียน   ซึ่งอาจจะใช้เวลาครั้งละ 10 – 30 นาที   แล้วแต่กรณี หรืออาจกล่าวอีกนัยหนึ่งว่า การเตรียมตัวเข้ารับการสอบสัมภาษณ์จำเป็นต้องทบทวนความรู้ และข้อมูลบางประการมิใช่เข้าสอบโดยมิได้ทบทวนความรู้หรือข้อมูลอะไรเลย  การสัมภาษณ์เป็นการพูดคุยกัน  ไม่ต้องเครียด ต้องแสดงความจริงใจ อย่าเสแสร้ง กรรมการจะดูกริยา ลักษณะการพูดจาเป็นว่าเป็นอย่างไรบ้าง เนียมไม่เนียม  สำคัญจุดแรกที่กรรมการจะพิจารณาคือการแต่งกายของผู้เข้าสัมภาษณ์ ดูดี สะอาด ผมรัดผูกให้สวยงาม แต่งหน้าแต่พองาม  พูดให้เป็นธรรมชาติที่สุด  อย่าพาใครไปเป็นเพื่อน
ในการสัมภาษณ์ควรทำใจให้สบาย ตอบคำถามแบบธรรมขาติ เป็นตัวของตัวเอง  โดยส่วนใหญ่กรรมการจะถามคำถามต่อไปนี้ คือ 1. ให้แนะนำตัวเอง   2.เหตุผลในการตัดสินใจเข้ารับราชการ   3. เล่าถึงประสบการณ์ในการทำงาน

วิชาที่ใช้สอบเป็นพนักงานราชการ   มีดังนี้คือ
การประเมินครั้งที่  1  โดยวิธีสอบข้อเขียน   (100  คะแนน)
- ความรู้ทั่วไป   ได้แก่  คณิตศาสตร์  ภาษาไทย  ภาษาอังกฤษ
- ความรู้ความสามารถเกี่ยวกับลักษณะงานที่ปฏิบัติ
การประเมินครั้งที่  2 (ความพร้อมในการปฏิบัติงาน)  โดยการสอบสัมภาษณ์  (100  คะแนน)
พิจารณาจากประวัติส่วนตัว ประวัติการศึกษา  ประวัติการทํางาน ประสบการณ์ที่เหมาะสมกับตำแหน่ง การมีมนุษย์สัมพันธ์ ความสามารถในการปรับตัวเข้ากับผู้อื่น ท่วงที วาจา อุปนิสัย อารมณ์ ทัศนคติ
มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ และจรรยาบรรณ

วิชาที่ใช้สอบเป็นข้าราชการ   มีดังนี้คือ
1. ความรู้ความสามารถเฉพาะตำแหน่ง  ( 200  คะแนน )
2. การสอบสัมภาษณ์   ( 100  คะแนน )  เป็นการทดสอบเพื่อวัดความเหมาะสมกับตําแหน่งที่จะบรรจุและแต่งตั้งโดยวิธีการสัมภาษณ์หรือวิธีอื่นเพื่อประเมินความเหมาะสมกับตําแหน่งจากประวัติส่วนตัว ประวัติการศึกษา  ประวัติการทํางานประสบการณ์ ท่วงทีวาจา อุปนิสัย อารมณ์ ทัศนคติการปรับตัวเข้ากับผู้ร่วมงาน สังคมและสิ่งแวดล้อม ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ปฏิภาณไหวพริบ บุคลิกภาพและพฤติกรรมของผู้สอบแข่งขันเพื่อให้ได้บุคคลที่มีคุณธรรม จริยธรรม ความรู้ความสามารถ ทักษะ สมรรถนะ และอื่นๆ ที่จําเป็นสําหรับตําแหน่ง
ทั้งนี้ กําหนดให้ผู้สมัครสอบ ต้องสอบความรู้ความสามารถเฉพาะตําแหน่งก่อนผ่านก่อน โดยมีคะแนนไม่ต่ำกว่าร้อยละ  60  จึงจะมีสิทธิเข้าสอบภาคความเหมาะสมกับตําแหน่ง

รายละเอียดวิชาที่สอบ
พนักงานควบคุม กรมคุมประพฤติ
1 ความรู้เกี่ยวกับกรมคุมประพฤติ
2 แนวข้อสอบเกี่ยวกับกรมคุมประพฤติ
3 อาชญาวิทยาและทัณฑวิทยา
4 แนวข้อสอบอาชญาวิทยาและทัณฑวิทยา
5 หลักการปฏิบัติต่อผู้ต้องขัง
7 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับกฎหมายและ กระบวนการยุติธรรม
8 แนวข้อสอบ พรบ.วิธีการดำเนินการคุมความประพฤติตามประมวลกฎหมายอาญา พ.ส.2522 และแก้ไขเพิ่มเติม
9 พรบ.ฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด พ.ศ.2545
10 แนวข้อสอบ พรบ.ฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด พ.ศ.2545
11 ความรู้เกี่ยวกับอาสาสมัครคุมประพฤติ
12 ความรู้ด้านงานคุมประพฤติ
13 แนวข้อสอบระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยพนักงานราชการ พ.ศ.2547
13 แนวข้อสอบระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยพนักงานราชการ พ.ศ.2547

ตำแหน่งที่สอบ
เจ้าพนักงานธุรการ
เจ้าหน้าที่บันทึกข้อมูล
พนักงานควบคุม
พนักงานคุมประพฤติ